“มิ้นท์นี่ชอบใส่รองเท้าผ้าใบเนอะ”
ประโยคเดียวกันในสองบริบท
“มิ้นท์นี่ชอบใส่รองเท้าผ้าใบเนอะ เห็นแค่ออกไปกินข้าวใกล้ๆ หรือแค่ออกไปซื้อของไม่นานก็ยังใส่รองเท้าผ้าใบตลอดเลย จริงๆ ถ้าเป็นหยก หยกคงจะใส่รองเท้าแตะแน่เลย”
~ประโยคบอกเล่าจากแฟนสาว
“มิ้นท์นี่ชอบใส่รองเท้าผ้าใบเนอะ แต่งตัวไปข้างนอก ใส่ช้งใส่เชิ้ตก็น่าจะใส่รองเท้าหนังนะจะได้ดู Smart”
~ประโยคบอกเล่าจากคุณตา
ทำไมการเปิดรูปประโยคแบบเดียวกัน ถ่ายทอดโดยคนสองคน ถึงมีมุมมองที่ตรงกันข้ามกันหละ? นั่นเพราะทั้งสองคนมีความคาดหวังจากประสบการณ์ส่วนตัวที่แตกต่างกัน ในมุมของแฟนสาวผมอาจจะแต่งตัวเรียบร้อยในบางสถานการณ์ที่เธอมองว่าเกินจำเป็น ในมุมของคุณตาผมอาจจะแต่งตัวไม่เรียบร้อยในบางสถานการณ์ที่ท่านมองว่าไม่เหมาะสม เชื่อว่าในสังคมสมัยใหม่การใส่รองเท้าแตะไปทำกิจวัตประจำวันข้างนอกนั้นไม่ใช่เรื่องแปลก และในสังคมสมัยเก่าการใส่รองเท้าผ้าใบออกไปทำกิจวิตข้างนอกอาจจะไม่ใช่เรื่องปกติ นี่จึงเป็นที่มาของสองมุมมองที่ต่างกันนี้
ทุกครั้งที่เราไม่พอใจใคร หงุดหงิด หัวร้อน หัวเสีย หรือมองกลับกัน เวลาที่ใครพูดถึงเราในแง่ดี ชื่นชมเรา ถ้าเราสามารถวางความนึกคิดของตัวเองลงได้สักครู่หนึ่ง เพื่อที่จะสะท้อนที่มาที่ไปของคำพูดไม่กี่คำของคนที่เรากำลังโต้ตอบด้วย ว่าความนึกคิดของเค้า นั้นก็มาจากประสบการณ์และบรรทัดฐานส่วนตัว เค้าอาจไม่ได้มีเจตนาที่ไม่ดีต่อเราหรอก เท่านี้เราต่างคนก็คงจะเข้าใจกันมากขึ้น
ส่วน Context ของผมหนะหรือ? ถ้าออกนอกบ้านไปไกลกว่าหน้าปากซอย ผมอาจจะไม่ค่อยสบายใจถ้าใส่รองเท้าแตะ ส่วนถ้าออกไปทำงานผมก็ใส่รองเท้าหนังนะ แต่ถ้าแค่ออกไปทำธุระส่วนตัว ผมก็สบายใจที่จะใส่รองเท้าผ้าใบครับ