“ผ่านพ้น Adventure นี้ไป บอกได้เลยว่า การไป Concert ครั้งต่อ ๆ ไปคงจะไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว”
บอกได้เลยว่าคำพูดนี้ไม่ได้เกินจริงไปแม้แต่น้อย เพราะประสบการ์ที่ได้รับจาก Adventure Behind the Sound and How to Design Vibe เป็นประสบการณ์ที่ . . .
“ชั่วชีวิตนี้ คนธรรมดา ๆ อย่างเรา ๆ คงไม่ได้มีโอกาสได้สัมผัส”
Speaker ของกิจกรรมนี้คือ พี่ พล หุยประเสริฐ Founder ของ บริษัท H.U.I จำกัด บริษัททำ Entertainment Design Studio - ว่าง่าย ๆ ทำเกี่ยวกับการจัด Concert นั่นแหละ
เอาจริง ๆ คือไม่รู้จักพี่เค้าเท่าไหร่หรอก อาจจะเห็นผ่านตามาบ้าง แต่ที่แน่ ๆ คือคงต้องเคยเป็น Audience ของเค้ามาก่อนอย่างแน่นอน (แต่ Profile เค้าไม่ธรรมดาเลยนะ)
พี่พลเรียกตัวเองว่าเป็น Live Designer ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบการแสดงสดหรือ Concert นั่นเอง
แล้วจริง ๆ แล้วใน Concert มันมีอะไรบ้าง? ที่ว่า ออกแบบนี่คือออกแบบอะไรหรอ? ถึงเราจะดูเหมือนอยู่ในแวดวงนี้เล็กน้อย แต่ว่าเราก็ไม่ได้สัมผัสกับ Concert บ่อยขนานนั้น เรียกได้ว่า ห่างไกลจากคำว่าช่ำชองมากเลยแหละ
พอพี่พลเริ่มเข้าเรื่องงานที่พี่เค้าทำ เราก็เริ่มเห็นภาพชัดมากขึ้น ว่าเรานั้น Take For Granted กับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน Concert โดยไม่เคยมาใส่ใจจริงจัง ว่าการออกแบบ Element ต่าง ๆ นั้นผ่านกระบวนการทางความคิด การออกแบบ และการตัดสินใจมากมายเพียงใด
. . . มา ๆ เดี๋ยวจะแชร์สาระให้ฟัง
Concert นั้นเกิดขึ้นจาก 3 Element ที่ประกอบเข้าด้วยกัน
“Audience, Artist, Atmosphere”
Audience - ก็คือพวกเรา ผู้ชม หรือคนดูนั่นเอง Audience มาที่ Concert พร้อมกับ Expectation หรือความคาดหวังที่จะได้รับบางอย่างกลับไป
Artist - ตรง ๆ ตัว คือศิลปิน เป็นผู้ที่อยู่บนเวที ถ่ายทอดพลัง ส่ง Expression จากภายในตัวเองไปยัง Audience
Atmosphere - หรือบรรยากาศ คือสิ่งที่ทุกคนสัมผัสได้ คือจุดสำคัญใน Concert ที่เราจะเข้าไปออกแบบ เพราะนี่คือตัวกล่างที่เชื่อมโยงระหว่าง Audience และ Artist
Atmosphere คือเครื่องขยาย Expression ของศิลปิน ไปยัง Audience
ถ้าพี่ตูนนั่งร้องเพลงความเชื่อในห้องนั่งเล่น แน่นอนแหละว่ามันดี แต่พลังที่ถ่ายทอดออกมาก็จะได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้น ถ้าเรายกห้องนั่งเล่นนั้นไปวางไว้ตรงกลางราชมังคลาเฉย ๆ ก็คงจะเป็น Concert ที่ไม่สนุกสักเท่าไหร่ (พี่ตูนแหกปากร้องยังไงก็คงไม่สามารถไปถึงคนดูแถวหลังสุดได้) ดังนั้น เจ้า Atmosphere หรือบรรยากาศนี่แหละ จะเป็นตัวที่ทำให้พี่ตูน Amplify ขยายพลังออกมา และเอาคนดูได้อยู่หมัด
ลงลึกอีก . . . Atmosphere เป็นการเล่นกับประสาทสัมผัสของคนเรา รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ในรูปแบบของ Concert ประสาทที่สำคัญ 2 อย่างคือ รูป และ เสียงนั้นเอง
Atmosphere ที่เราได้เข้ามาลองออกแบบใน Adventure นี้ประกอบไปด้วย . . .
Setting - ณ ที่นี้คือเวที ใน Adventure นี้มี 3 Stage ให้เลือกใช้ได้ โดยแต่ละ Stage มีรูปแบบที่แตกต่างกัน มีความสูงไม่เท่ากัน มี Prop ประกอบการแสดงคนละอย่างกัน
เสียงเพลง – แน่นอนว่าศิลปินเค้ามาเพื่อร้องเพลง และถ่ายทอดพลัง เราคงจะทำอะไรกับเพลงไม่ได้มากหรอก แต่สิ่งที่เราทำได้คือกำหนด Mood and Tone เพราะเพลง ๆ เดียวกันในอารมณ์ที่แตกต่างกัน ทำให้สิ่งที่คนดูได้รับและการตีความนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
Lighting, Visual and Effect – Foot Light, Moving head, Tungsten, สีต่าง ๆ ความเข้มต่าง ๆ การเคลื่อนไหวในรูปแบบต่าง ๆ คือคำอธิบายใน Brief ของ Lighting หรือแสงนั้นเอง ส่วน Visual คือภาพ Graphic, Motion Graphic บนจอ LED ที่ทำให้เราเห็นบรรยากาศ สถานที่ อารมณ์ ออกมาในรูปแบบของภาพ Effect คือส่วนประกอบเช่นเครื่องผลิตควัน พลุ ไฟต่าง ๆ (ใน Adventure มีแค่ควันจ้า) ทั้งหมดทั้งมวลนี้ประกอบเข้าด้วยกัน สามารถเปลี่ยนมโนภาพของเราจากที่อยู่ใน Concert Hall พาเราไปอยู่บนกลีบเมฆ บนท้องฟ้า กลางหมู่ดาว ไปจนอยู่ใต้ท้องทะเล กลางป่า หรือแม้แต่ ในจิตใจของตัวเองเราที่สับสนอลหม่าน
คำถามต่อมา เรารู้แล้วว่าเราสามารถออกแบบอะไรได้บ้าง แล้วเราจะออกแบบมันออกมาในรูปแบบไหนดี?
ก่อนอื่นเราต้องเริ่มจากการตีความสิ่งที่เราอยากจะสื่อสาร . . .
แรกสุดคือบทเพลง บทเพลงนั้นประกอบด้วยท่วงทำนองดนตรี และเนื้อหาที่เป็นอักขระภาษา สองสิ่งนี้ที่ประกอบเข้าด้วยกันทำหน้าที่ในการถ่ายทอดเรื่องราวและอารมณ์ผ่านโสตประสาทการรับฟัง เราอยากให้เพลงนี้ถ่ายทอดอะไรออกมา?
อีกส่วนหนึงคือตัวตน หรือ Character ของศิลปิน คนเราทุกคนยอมมีความเหมือนและความต่าง ศิลปินก็เช่นเดียวกัน บางคนมีความดุดันอย่างเสือ ว่องไวดังนกเหยี่ยว ถ้าหากศิลปินต้องขับรถ บางคนอาจจะเหมาะกับรถถังที่ทรงพลัง อีกคนอาจจะโฉบเฉี่ยวบนมอเตอร์ไซค์ ถ้าเปรียบเทียบกับสี ศิลปินคนนั้นเหมาะกับสีอะไร? เราคงจะเปรียบเทียบได้ไม่สิ้นสุด แล้วทีนี้ สิ่งที่อยากจะให้ศิลปินถ่ายทอดคืออะไร?
ก็ต้องขึ้นอยู่กับจินตนาการของ Live Designer
จบไปในส่วนของเนื้อหาสาระ . . . มาต่อกันที่การลงมือทำเนอะ สิ่งที่เกิดขึ้นใน Adventure คือเราแบ่งกลุ่ม 3 – 4 คนเพื่อร่วมกันออกแบบ Concert ของตัวเอง โดยมีเวลาประมาณ 3 ชั่วโมงสำหรับการออกแบบ Concert 1 เพลง จากนั้นก็จับฉลากเพลงและศิลปินที่เป็นโจทย์ของกลุ่ม
ในเวลา 3 ชั่วโมงอันน้อยนิด เราได้มีโอกาสพูดคุยกันในกลุ่มเพื่อออกความเห็นในการตีความโจทย์ของเรา และยังได้มีโอกาสคุยกับพี่ ๆ ผู้เชี่ยวชาญตามฐาน ซึ่งพี่ ๆ เหล่านี้นี่แหละที่เป็นผู้ดลบันดาลมโนภาพของเราให้ออกมาเป็นความจริง
อยากจะขอบคุณและซูฮกให้พี่ผู้เชี่ยวชาญ ๆ ทุกคน เพราะพี่ ๆ น่ารัก เป็นมืออาชีพมาก ๆ แม้แต่กับน้อง ๆ อย่างเราที่โคตรมึนและพูดจาไม่ค่อยจะรู้เรื่อง ขอบคุณพี่แจ๊คและพี่จุ๊บแจงที่อธิบายเรื่องแสงไฟอย่างใจเย็น พี่ไปป์ พี่ธีร์ พี่บอสที่ทำให้เราเห็นภาพงานฝ่าย Visual และพี่มดที่ให้คำแนะนำเรื่องบทเพลงอย่างมีอารมณ์ขัน
พอบรีฟงานกันเสร็จแล้ว พวกเราก็โดนไล่ไปทางข้าวเย็นซึ่งในระหว่างนั้นเอง ทีมงาน ผู้เชี่ยวชาญนำทีมด้วยพี่พลก็ได้เตรียมการร้อยเรียง Concert 1 เพลงที่ทุกคนได้คิดออกมาเป็น Concert ย่อม ๆ ความยาว 45 นาที
ผลงานที่ออกมา คงต้องให้ภาพมันเล่าเรื่องเนอะ 🙂