New Product × New Business × New Project × Sanity Check

tl;dr
ในงานสรรสร้างโครงการใหม่ เราควรทำ Sanity Check ในเรื่องของ Desirability, Feasibility, Viability และ Scalability ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะบอกถึงความเป็นไปได้ของโครงการในขั้นต้น

Business Project Sanity Check Brown Card

ไอเดียหลากหลาย ไอเดียสินค้าใหม่ ธุรกิจใหม่ โปรเจคใหม่ ฯลฯ มีอยู่มากมาย แต่เราไม่สามารถที่จะทำทุก ๆ อย่างได้ (เพราะถ้าทำทุกอย่าง ก็จะไม่สำเร็จสักอย่าง) ดังนั้นถ้าอยากให้ไอเดียที่ดูน่าจะเป็นไปได้ที่สุดอยู่รอด เราต้องคัดและตัดช้อยส์สิ่งที่ไม่ใช่ออก

Sanity Check 4 ข้อที่ควรทำก่อนตัดสินใจทุ่มแรงกาย แรงใจ และเงินทุน . . .

1) Desirability - Do people care about the product and its value proposition?

สินค้า/บริการนี้เป็นที่ต้องการของตลาดรึเปล่า? ต้องหาทั้งแบบ Quantitative หาตัวคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายให้เจอแบบตัวเป็น ๆ เพื่อคุย ทำความเข้าใจปัญหาที่เค้าเจอ Empathize เค้า และหาแบบ Quantitative โดยการหา Market Size หรือหาว่าคนที่มีปัญหานี้มีมากแค่ไหน

"Don't create a solution waiting for a problem" - Unknown

2) Feasibility - Is it possible to do this technically. Are we capable?

ด้วยทรัพยากร ทักษะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญที่มีอยู่ เราสามารถสร้างคุณค่าได้จริงรึเปล่า? สร้างสินค้า/บริการที่ตั้งใจไว้ได้หรือไม่? หากว่าหาปัญหาเจอ หาคุณค่าหรือ Value proposition ที่เป็นที่ต้องการเจอ แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้จริง ก็จะไปต่อไม่ได้ ถ้าขาด Capability ศึกษาเองได้มั้ย? หาที่ปรึกษาได้มั้ย? หาผู้เชี่ยวชาญมาร่วมทีมได้มั้ย?

"It's not about ideas. It's about making ideas happen" - Scott Belsky

3) Viability - Can the product reach the customer? Is the model profitable?

เจอปัญหาของคนแล้ว เจอทางแก้แล้ว สร้างออกมาเป็นสินค้า/บริการที่ตอบโจทย์แล้ว เราสามารถพาสินค้า/บริการตัวนี้ไปถึงมือลูกค้าได้อย่างไร การตลาดเป็นอย่างไร และโมเดลธุรกิจนี้สร้างรายได้และผลกำไรได้เหมาะสมใช่หรือไม่? Go to Market Strategy และ Financial Model มีความเป็นไปได้ทางธุรกิจมากน้อยแค่ไหน?

"Ideas are cheap, execution is everything” - Chris Sacca

4) Scalability - Can we service the product to a large number of customers?

เห็นความเป็นไปได้ในทางธุรกิจแล้ว สินค้า/บริการนี้สามารถเติบโต ขยายวงกว้างขึ้น ทั้งจากมุมมองภายใน - สามารถขยายการผลิต/บริการ ขยายทีมงาน และมุมมองภายนอก - ส่งสินค้า/บริการนี้ไปจนถึงมือกลุ่มลูกค้าที่กว้างขึ้น หรือขยายฐานลูกค้าให้ใหญ่ขึ้น โดยการวางตั้งเป้าหมาย วาง Projection, Road Map, Action Plan, Expansion Plan (ที่ผ่านการวิเคราะ) ให้สัมพันธ์กับวิศัยทัศน์

"If you're not growing, you're dying" - William S. Burroughs

หากมีคำตอบที่สมเหตุสมผลให้กับคำถามทั้ง 4 ข้อนี้ รับรองว่าโครงการนี้รุ่งแน่นอน แต่หากเราหาคำตอบของทั้ง 4 ข้อนี้ได้ไม่ครบหละ เราควรจะหยุดเดินหน้าต่อรึเปล่า? . . . ก่อนจะตอบคำถามนี้ ต้องถามตัวเองก่อนว่า เราเชื่อในโครงการนี้รึเปล่า? เชื่อในสินค้าและบริการนี้มั้ย? ถ้าเค้าตอบคือ “ไม่” เราก็ควรจะพับโปรเจคนี้แล้วหาโปรเจคใหม่เพื่อมาพิสูจน์ และพาเข้ากระบวนการนี้อีกครั้งหนึ่ง แต่ถ้าคุณมีความ “เชื่อ” มีจุดมุ่งหมายอันยิ่งใหญ่ที่ต้องการจะทำให้โครงการนี้สำเร็จให้ได้ เราสามารถลุยไปก่อน และค่อยหาคำตอบระหว่างการเดินทางของเราไปได้ เพราะนี้คือ Sanity Check ดังนั้นการดันทุรังทำต่อ คือการเลือกทางเดินของ Insanity เป็นเส้นทางที่ยากยิ่ง แต่ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้ น้อยคนนักที่จะเลือกทางนี้ และบางครั้ง ทางเลือกนี้เป็นทางเลือก High risk, high reward ก็เป็นได้